คณะรัฐศาสตร์

ปริญญาตรีหลักสูตรรัฐศาสตรบัณฑิต

ปรัชญา ความสำคัญ และวัตถุประสงค์ของหลักสูตร

1.1 ปรัชญา

มุ่งผลิตบัณฑิตให้มีความรู้ความสามารถในวิชาการและมีความรู้พื้นฐานในการศึกษาต่อ รวมทั้งมีจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพมุ่งมั่นในทางสร้างสรรค์ความเจริญให้แก่องค์กรสังคมและประเทศชาติ

ความสำคัญ

จากการเปลี่ยนแปลงของโลกในปัจจุบันที่มีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก ทั้งด้าน เศรษฐกิจ สังคม การเมืองการปกครอง เทคโนโลยี และการบริหารจัดการในภาครัฐ มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรีได้ให้ความสำคัญ กับการพัฒนาด้านการเรียนสอนการสอนเชิงบูรณาการ เพื่อผลิตบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถที่สอดคล้องกับความต้องการของสังคม จึงได้มีการปรับปรุงหลักสูตรรัฐศาสตรบัณฑิต สาขาการเมืองการปกครอง เพื่อตอบรับการสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงและความทันสมัย

1.2 วัตถุประสงค์ของหลักสูตร

1.2.1 เพื่อผลิตบัณฑิตให้มีความรู้กว้างไกล และลึกซึ้ง ในด้านการเมืองการบริหารจัดการ การ

พัฒนา และสัมพันธภาพระหว่างประเทศทั้งในระดับท้องถิ่นและระดับสากลเพื่อให้บัณฑิตได้นำความรู้

ความเข้าใจไปประกอบอาชีพอย่างมีคุณธรรมและจริยธรรม

1.2.2 เพื่อให้บัณฑิตมีทักษะ ความสามารถในการแก้ไขปัญหาสังคม การเมือง การบริหารและ

สิ่งแวดล้อม ด้วยสันติวิธีและเข้าร่วมกิจกรรมทางการเมืองรวมทั้งมีความรู้และศักยภาพเพียงพอที่จะศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้นไปทั้งภายในและต่างประเทศ

1.2.3 เพื่อผลิตบัณฑิตให้มีความสามารถในการเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลงพัฒนาองค์ความรู้ใน

ระดับรากฐานและสากลตามกรอบของคุณธรรม จริยธรรมและสามารถติดต่อสื่อสารและสร้างสัมพันธภาพ กับผู้อื่นได้อย่างมีประสิทธิภาพรวมทั้งมี ความรับผิดชอบต่อตนเองสังคมและประเทศชาติ

อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา

1. ข้าราชการสังกัด ส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค ส่วนท้องถิ่น

2. ทหาร ตำรวจ

3. นายอำเภอ ปลัดอำเภอ

4. นักวิเคราะห์นโยบายและวางแผน

5. นักการทูต


รัฐประศาสนศาสตร์ หรือ บริหารรัฐกิจ กับ งานที่สามารถทำได้เมื่อจบสาขานี้

โดยขอแบ่งออกเป็น 2 ส่วน ของภาครัฐ และ เอกชน มีงานอะไรบ้าง

แหล่งงานภาครัฐ

เรียนสาขาวิชานี้สามารถทำงานด้านบริหาร นโยบาย และแผนงานได้ทุกหน่วยราชการ ทุกกระทรวง ทบวง กรม กอง อย่างเช่น ผู้ว่าราชการจังหวัด นายอำเภอ ปลัด เจ้าพนักงานปกครอง เจ้าหน้าที่บริหารงานทั่วไป เจ้าหน้าที่วิเคราะห์นโยบายและแผน เจ้าหน้าที่ประสานงาน เลขานุการบริหาร นักวิชาการศึกษา เจ้าหน้าที่วิเทศสัมพันธ์ เจ้าหน้าที่บริหารงานบุคคล นักบริหารทรัพยากรมนุษย์ นักทรัพยากรบุคคล นักพัฒนาชุมชน นักสังคมสงเคราะห์ นักบริหารงานคลังและงบประมาณ นักจัดการงานทั่วไป ผู้บริหารในองค์กรปกครองท้องถิ่น ตำรวจ ทหาร อาจารย์มหาวิทยาลัย ครูผู้ช่วย ครูธุรการ เป็นต้น


แหล่งงานภาคเอกชน

ข้อได้เปรียบของสาขาวิชานี้คือได้เรียนรู้ทั้งความรู้และเครื่องมือทางการบริหารงานมากกว่าสาขาอื่นๆ จึงทำให้สามารถนำความรู้เทคนิคด้านการบริหารจัดการไปใช้ในการทำงานภาคเอกชนได้ดีในการบริหารงานทุกระดับของบริษัท และถ้ามีความรู้การคำนวณ และภาษาที่ดี ขอบข่ายงานก็ยิ่งจะกว้างขวางมากขึ้น เช่น นักวิเคราะห์โครงการ นักวิเคราะห์การลงทุน นักวิเคราะห์ระบบงาน นักบริหารองค์การระดับสูงที่สามารถวิเคราะห์การบริหารเศรษฐกิจมหภาคได้